ชาวนาไทย


สมัยตอนไปนั่งเรียน  วิชา  micro  ที่คณะ  พศ    จำได้ว่ามีสอนเรื่อง  ราคาสินค้าเกษตร
ถ้าราคาตก  รัฐจะเลือกใช้วิธีไหน ระหว่าง  
1.ประกันราคา (Price Guarantee)  โดยรัฐ การประกันราคา หรือมีการ การอุดหนุน (Subsidies) ต้นทุนให้ หรือว่ายอมจ่ายส่วนต่างราคา ระหว่างราคาตลาดกับราคาประกันให้แทน  เพือให้เกษตรกรขาดของได้โดยไม่ขาดทุน
หรือ 2. ว่าใช้คูปองลดราคา   โดยรัฐจะแจกคูปองส่วนลด หรือว่า ปั่นส่วนให้ประชาชนไปใช้แลกสินค้า   ทำให้เสมือนว่า  ซื้อได้ในราคาถูกจากราคาที่ขายกันแพง

จบเรื่องในทฤษฎี...
มาเจอความจริงกันดีก่า...  ครายจำสมัย ลองกองช่วยชาติ หรือลำไยช่วยชาติได้มั่ง.. ใช้วิธีแก้ปัญหา  ด้วยการเพิ่ม demand  เข้าไปในระบบ  พยายามให่้สมดุลกับ การ over supply ส่วนที่ surplus ต่ำลง......

เคยได้ยินวิธีการแก้ปัญหาข้าวโพด ราคาตกในเมกา  ปัญหาคือ  มีการผลิตออกมาเกินความต้องการทำให้  ราคาตก   รัฐเมกาใช้วิธีรับส่วนเกินมาเพื่อให้ ข้าวโพดไม่ล้นตลาด ทำให้ราคากลับมาเป็นปกติ  เราว่า ไม่มีการ over supply

ฉนั้นการแก้ไข ราคาสินค้าว่าไม่จะถูกหรือว่าแพง  มันเกิดจาก การสร้างสมดุลระหว่าง demand กับ Supply    .ให้ได้    
กลับมาเรื่องวิธีการแก้ไขราคาข้าวกันดีก่า..    เมืองไทยเป็น  "อู่ข้าวอู่น้ำ"  "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  ก็้เพราะว่าคนไทยร้อยละ 80   ก็เป็นเกษตร   นับว่าเมืองไทยยังโชคดี ปัจจุบันยังมีชาวนาอยู่     จากการศึกษามีข้อมูลที่น่าหวั่นใจ คือ อีก 10 ปี จะไม่มีชาวนาแล้ว...
บางคนคิดว่า  ไรสาระเป็นเรื่องตลก...
 

ลองอ่านบทความนี้สิครับ


ในหลวงทรงห่วงชาวนาไทย


ประธานมูลนิธิข้าวไทย ระบุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงอาชีพชาวนา เกรงว่าจะไม่มีคนสืบทอด จึงขอให้ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตชาวนาก่อนที่จะฟื้นฟูการส่งออก
 
นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกังวลปัญหาวิกฤตข้าวไทย โดยเฉพาะอาชีพชาวนา เพราะที่ผ่านมาชาวนาต้องประสบปัญหาด้านราคาข้าว ภัยพิบัติมากมาย ทำให้อาชีพชาวนาจะไม่มีคนสืบทอด ดังนั้นหากจะฟื้นฟูการส่งออกข้าวไทยต้องทำให้คุณภาพชีวิตชาวนาดีขึ้นก่อน 
 
และ ในอีก 30 ปีข้างหน้า โลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางด้านอาหาร จึงอยากให้คนไทยและระบบอุตสาหกรรมไทยให้ความสำคัญกับข้าว ซึ่งเชื่อว่า ข้าวจะเป็นสิ่งจำเป็นกับอีก 3,900 ล้านครัวเรือน
 
นายสุเมธ กล่าวด้วยว่าปัจจุบันการส่งออกข้าวไทยอยู่ในอันดับที่ 3ของโลกรองจากประเทศอินเดียและเวียดนาม เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีผลผลิตต่อไร่สูง แรงงานถูก มีต้นทุนต่ำ ทำให้ขายข้าวในราคาถูก แต่สำหรับประเทศไทย หากไม่มีการตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงข้าวในตอนนี้ ในอนาคตจะไม่สามารถสู้กับประเทศในกลุ่ม AEC ที่มีพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าได้ ดังนั้นต้องประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์กับภูมิปัญญาสร้างข้าวให้เพิ่มมูลค่าเป็นสินค้านวัตกรรมหรือโภคภัณฑ์ในวงอุตสาหกรรมไทย เพื่อสร้างตลาดใหม่ให้กับชาวนาไทยได้
 
ขณะที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดนโยบายดำเนินโครงการจัดระบบปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับวิกฤตน้ำ การระบาดของศัตรูพืช รวมถึงปัญหาดินเสื่อมโทรม  โดยนายนิกร จำนง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าโครงการจัดระบบปลูกข้าวปีเพาะปลูก 2554/2555 ใน 10 จังหวัด ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 10 มิถุนายน 2555 มีพื้นที่กว่า 8 แสน 9 ไร่ จากเป้าหมายทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 2 แสนไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 70.78  มีการใช้น้ำลดลง 979 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 711 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 756 กรัมต่อไร่  
 
นอกจากนี้ยังทำให้การระบาดของเพลี้ยกระโดด การใช้สารเคมี และต้นทุนการผลิตที่ลดลง  จึงถือว่าเป็นความสำเร็จของการดำเนินการ สำหรับแผนการจัดระบบปลูกข้าวปี 2556 มีโครงการชลประทานเข้าร่วม 18 โครงการ ใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท 

วิตกอนาคตชาวนาไทย-คนรุ่นใหม่เมินทำนา


หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ รายงานว่า สถิติอายุเฉลี่ยของชาวนาไทยในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่สนใจอาชีพทำไร่ทำนา ส่งผลให้เกิดความวิตกว่า อาชีพที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติที่ว่านี้ อาจพบกับภาวะอันมืดมนในอนาคต 
 
ปัญหาแนวโน้มเกษตรกรละทิ้งไร่นา เพื่อเข้าไปหางานทำในเมือง แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงในชาติเกษตรกรรมอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม
 
แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว แนวโน้มดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากการทำนาปลูกข้าว ได้รับการยกย่องให้เป็นอัตลักษณ์ของชาติ ถึงขนาดที่มีการขนานนามให้กับชาวนาว่า เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ
 
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังถูกจัดให้เป็นชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2526 โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว ไทยส่งออกข้าวมีมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 188,000 ล้านบาท โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นข้าวชั้นดีที่มีราคาสูงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
 
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานโดยอ้างสถิติจากข้อมูลของรัฐบาลไทย พบว่า อายุเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นของชาวนาไทยในปัจจุบัน ถือเป็นประเด็นที่น่าวิตกเป็นอย่างมาก โดยล่าสุด มีชาวนาไทยอายุไม่เกิน 25 ปี เหลืออยู่เพียงร้อยละ 12 ลดลงถึงร้อยละ 35 จากการสำรวจเมื่อปี 2528 ส่วนอายุเฉลี่ยของชาวนาไทยทั้งประเทศ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 42 ปี เพิ่มขึ้นจากอายุเฉลี่ย 31 ปี ที่มีการสำรวจเมื่อราว 25 ปีที่ผ่านมา
 
สำหรับสาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสนใจกับอาชีพทำไร่ทำนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า ชีวิตในเมืองมีความสะดวกสบายมากกว่าในชนบท ส่งผลให้การทำนา ที่ต้องตากแดดตากลม และใช้แรงงานที่เหนื่อยยาก ไม่ได้รับการสืบทอดจากลูกหลานของบรรดาเกษตรกรในปัจจุบัน
 
ขณะเดียวกัน นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นปัญหาเฉพาะของประเทศไทย คือ การดูหมิ่นเหยียดหยามอาชีพชาวนาว่า เป็นงานของคนจน ที่ไม่มีการศึกษา และไร้สุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของชาวนาไทยที่เผยแพร่ผ่านรายการโทรทัศน์ต่างๆ ที่มักนำเสนอภาพชาวนาผิวคล้ำกรำแดด ท่าทางซุ่มซ่าม ซึ่งกลายเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างทางสังคม ต่างจากคนเมืองผิวขาวสดใส ที่เป็นค่านิยมใหม่ของสังคม
 
ด้วยเหตุนี้ ลูกหลานชาวนารุ่นใหม่จึงพยายามหลีกเลี่ยงการสืบทอดอาชีพทำนาของครอบครัว และหันไปทำงานรับจ้างในเมือง หรือตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับมาช่วยเหลือครอบครัวทำไร่ทำนาในชนบท
 
นอกจากนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อาชีพชาวนาไม่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะปัญหาปุ๋ยราคาแพงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติ ทำให้ชาวนามีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปีที่ผ่านมา ชาวนาไทยทั่วประเทศมีหนี้สินเฉลี่ยคนละ 104,000 บาท หรือเท่ากับรายได้เฉลี่ยของพวกเขารวมกันเกือบ 5 ปี
 
ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ เผยว่า จำนวนหนี้สินที่ว่านี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในอนาคต ทำให้ชาวนาไทยในปัจจุบัน ต้องทำอาชีพเสริมอื่นๆ อาทิ การเปิดร้านขายของชำ และร้านเสริมสวยควบคู่กันไปด้วย
 
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มชาวนารุ่นใหม่ที่ลดลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เวียดนาม ชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดอีกประเทศหนึ่ง ก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน โดยคนเวียดนามให้เหตุผลว่า การทำนาเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก แต่ได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับแรงที่เสียไป
 
ด้านผู้อำนวนการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติในฟิลิปปินส์ มองว่า ปัญหาจำนวนชาวนาลดลง น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงเพียงระยะเวลาสั้นๆ และนั่นอาจทำให้การใช้เครื่องจักรในการเกษตร เพื่อทดแทนแรงงานที่หายไป มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
 
ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ชาวนาไทยที่มีจำนวนมากราว 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ ยังคงมีพลังทางการเมืองเพียงพอที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเพิกเฉยได้ โดยนอกจากมาตรเรื่องราคาข้าวแล้ว กระทรวงเกษตรของไทยยังจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา และการให้เงินอุดหนุนอื่นๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ชาวนากลับมามีศักดิ์ศรี และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Comments

Popular posts from this blog

โดนเอาเลขบัตรเครติดไปใช้ออนไลน์

แนะนำเว็บไซต์ Thaiwaterpump.com